Thursday, March 6, 2014

ความดันเลือด credit อาหารเสริม ลดน้ำหนัก


                 เนื่องจากในปัจจุบันมีผู้ป่วยที่เจ็บป่วยจากโรคภัยต่างๆเป็นจำนวนมาก อาทิเช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เป็นต้น จำเป็นต้องทำการตรวจวัดร่างกายอยู่เป็นประจำ ทำให้ผู้ป่วยต้องเสียเวลาไปทำการตรวจวัดร่างกายตามโรงพยาบาลหรือคลินิก จึงได้จัดทำเครื่องวัดความดันโลหิตขึ้นซึ่งสามารถตรวจวัดค่าต่างๆได้ด้วยตนเองที่บ้านหรือ ณ สถานที่แห่งใดก็ตาม โดยไม่จำเป็นที่ต้องไปซื้อเครื่องมือราคาแพงที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ โดยเครื่องมือวัดเหล่านี้จะแสดงผลบนหน้าจอของโทรศัพท์มือถือ ผ่านการเชื่อมต่อสัญญาณ บลูทูธ จากเครื่องวัดเข้าสู่โทรศัพท์มือถือและหากค่าที่วัดได้มีความบ่งชี้ถึงอาการผิดปกติของโรคต่างๆ ค่าที่วัดได้จะถูกส่งผ่าน ข้อความสั้น(SMS) ไปสู่โทรศัพท์ของทางโรงพยาบาล เพื่อที่ทางโรงพยาบาลจะได้จัดส่งทีมแพทย์มารักษาได้ทันถ่วงที
ความดันโลหิต  คือ แรงดันเลือดที่เกิดจากการบีบตัวและคลายตัวของหัวใจ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 ระบบคือ
add อาหารเสริม หนึ่ง

1. หัวใจ ห้องล่างขวา โดยหัวใจบีบตัวเพื่อนำเลือดดำไปปอด เลือดจะถูกส่งผ่านไปยังเส้นเลือดแดงที่จะไปปอด pulmonary arteries เพื่อไปรับออกซิเจน เมื่อเลือดได้รับออกซิเจนแล้ว ก็จะเปลี่ยนจากเลือดดำ เป็นเลือดแดง ไหลกลับมายังหัวใจด้านซ้าย ทางเส้นเลือดดำจากปอดสู่หัวใจห้องบนซ้าย pulmonary veinsเมื่อวัดความดันในหลอดเลือดแดงที่ไปปอด จะได้ค่าตัวเลข 2 ค่า เช่น 25/10 มิลลิเมตรปรอท ค่าตัวบนเรียกว่า ความดันช่วงหัวใจบีบ (ความดันซิสโตลิก:systolic) หมายถึงความดันเมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายบีบตัว จากตัวอย่างวัดได้ค่าเท่ากับ 25 มิลลิเมตรปรอท ส่วนค่าตัวล่างเรียกว่า ความดันช่วงหัวใจคลาย (ความดัน   ไดแอสโตลิก:diastolic) หมายถึง ความดันเมื่อหัวใจคลายตัว ซึ่งจากตัวอย่างจะมีค่าเท่ากับ 10 มิลลิเมตรปรอทนั่นเอง

add อาหารเสริม สอง
2. หัวใจ ห้องล่างซ้าย โดยหัวใจบีบตัวเพื่อนำเลือดแดงไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย เลือดจะถูกส่งผ่านไปยังเส้นเลือดแดงใหญ่ Aorta และกระจายไปตามหลอดเลือดแดงไปสู่อวัยวะสำคัญต่างๆ รวมถึงแขนและขา ซึ่งโลหิตจะมีแรงกระทำต่อผนังเส้นเลือดเมื่อเวลาวัดความดันที่หลอดเลือดแดงที่แขนหรือขาจะได้ค่าตัวเลข 2 ค่า เช่น 120/80 มิลลิเมตรปรอท ค่าตัวบนเรียกว่า ความดันช่วงหัวใจบีบ (ความดันซิสโตลิก:systolic) หมายถึงความดันเมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายบีบตัว จากตัวอย่างวัดได้ค่าเท่ากับ 120 มิลลิเมตรปรอทส่วนค่าตัวล่างเรียกว่า ความดันช่วงหัวใจคลาย (ความดันไดแอสโตลิก:diastolic) หมายถึง ความดันเมื่อหัวใจคลายตัว ซึ่งจากตัวอย่างจะมีค่าเท่ากับ 80 มิลลิเมตรปรอท นั่นเอง เมื่อหัวใจบีบตัว Systolic แรงดันโลหิตในหลอดเลือดแดงจะมีแรงดันน้อยกว่าแรงที่หัวใจบีบตัวเล็กน้อย ก็เนื่องจากหลอดเลือดแดงจะมีความยืดหยุ่น (Elasticity) ทำให้หลอดเลือดแดงขยายตัวออกได้เล็กน้อย แรงดันโลหิตในหลอดเลือดแดงจึงต่ำลงเมื่อหัวใจคลายตัว Diastolic แรงดันโลหิตในหัวใจห้องล่างจะลดลงเป็น ศูนย์ มิลลิเมตรปรอท หรือต่ำกว่าเล็กน้อย แต่แรงดันโลหิตในหลอดเลือดแดง จะไม่ลดลงเป็น ศูนย์ มิลลิเมตรปรอท เนื่องจากหัวใจมีลิ้นหัวใจที่กั้นระหว่างหัวใจห้องล่าง และหลอดเลือดแดง ลิ้นหัวใจจะทำหน้าที่เป็นประตูเปิด-ปิด ให้เลือดไหลได้ไปในทิศทางเดียว ไม่สามารถไหลย้อนกลับได้ เมื่อหัวใจห้องล่างคลายตัว ลิ้นหัวใจก็จะปิดลง ทำให้เลือดยังคงค้างอยู่ในหลอดเลือดแดง ไม่ไหลย้อนกลับเข้าไปในหัวใจห้องล่าง ดังนั้นจึงยังมีแรงดันโลหิตในหลอดเลือดแดงในช่วงหัวใจห้องล่างคลายตัวได้ นอกจากนี้ หลอดเลือดแดงที่ขยายตัวออกในช่วงหัวใจบีบตัว ก็จะมีแรงจากหลอดเลือดแดงบีบตัวในช่วงแรงดันโลหิตลดลงนี้ Diastolic vascular recoil ดังจะสังเกตได้ว่า คนที่มีอายุน้อย หลอดเลือดยังมีความยืดหยุ่นอยู่มาก ความดันโลหิตที่ไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย มักจะวัดค่าตัวบน systolic ได้ต่ำ และวัดค่าตัวล่าง diastolic ได้สูง เช่น วัดได้ 100/80 มิลลิเมตรปรอท ในขณะที่ คนที่มีอายุมาก หลอดเลือดมักจะแข็ง และมีความยืดหยุ่นน้อยลง ความดันโลหิตที่ไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย มักจะวัดค่าตัวบน systolic ได้สูง และวัดค่าตัวล่าง diastolic ได้ต่ำ เช่น วัดได้ 140/60 มิลลิเมตรปรอท


ความดันโลหิตสูง (Hypertension)                                                                                      
ความดันช่วงบน  ถ้าวัดได้ตั้งแต่ 140 มิลลิเมตรปรอทลงมาก็ถือว่าปกติ ถ้าวัดได้ระหว่าง 141-159 มิลลิเมตรปรอทก็ถือว่าเป็นระดับก้ำกึ่ง ถ้าวัดได้ตั้งแต่ 160 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป ก็ถือว่า สูง
ความดันช่วงล่าง  ถ้าวัดได้ตั้งแต่ 90 มิลลิเมตรปรอทลงมาก็ถือว่าปกติ ถ้าวัดได้ระหว่าง 91-94 มิลลิเมตรปรอท ก็ถือว่าเป็นระดับก้ำกึ่งถ้าวัดได้ตั้งแต่ 95 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป ก็ถือว่าสูง   
            ความดันโลหิตสูง จึงหมายถึง ความดันช่วงบนเท่ากับหรือมากกว่า 160 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป (เช่น ความดันช่วงบน 180 ความดันช่วงล่าง 90 ซึ่งนิยมเขียนเป็น 180/90) หรือความดันช่วงล่างเท่ากับหรือ  มากกว่า 95 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป (เช่น 150/110) หรือทั้งสองอย่างร่วมกัน เช่น 170/100,180/130)  เราจะวินิจฉัยโรคนี้แน่นอนและให้การรักษา ต่อเมื่อวัดความดันได้สูงกว่าปกติ เป็นจำนวน 3 ครั้ง ในวาระที่ต่างกันอย่างน้อย 2 คราว (ยกเว้นในรายที่สูงผิดปกติ อย่างมาก ๆ) ในการวัดแต่ละครั้ง ควรให้ผู้ป่วยได้พักสัก 5-10 นาทีเสียก่อน
โรคความดันโลหิตสูง พบได้ประมาณ 5-10% ของคนทั่วไป ส่วนมากจะเริ่มเป็นในคนที่มีอายุมากกว่า 30 ปี ขึ้นไป โดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด ส่วนน้อยที่อาจเป็นในคนอายุต่ำกว่า 30 ปี ซึ่งมักจะมีความผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย

ความดันโลหิตต่ำ(Hypotension)                                                                                                                

            โรคความดันโลหิตต่ำพบน้อยกว่าโรคความดันโลหิตสูงผู้ที่มีความดันโลหิตต่ำมีอันตรายน้อยกว่าผู้ที่ความดันโลหิตสูง และมีการดำเนินชีวิตที่สบายกว่า ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตต่ำจะวัดได้ดังนี้ สำหรับชายและผู้หญิง Systolic Pressure 80-100 มิลลิเมตรปรอท  Diastolic Pressure 50-60 มิลลิเมตรปรอท สาเหตุของความดันโลหิตต่ำ ยังไม่มีคำอธิบายที่แน่นอน แต่ส่วนใหญ่เป็นพันธุกรรมหรือเป็นมาแต่กำเนิดหรือไม่ทราบสาเหตุแน่นอนเรียกว่า Idiopathic Hypotension

อาการ ส่วนใหญ่ของผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตต่ำ มักไม่มีอาการอะไรมากนัก อาการสำคัญคือจะมีอาการเวียนหัวง่าย เวลาลุกขึ้นยืนเร็วๆ เช่นเวลานั่งยองๆ แล้วลุกขึ้นยืน หรือกำลังนอนอยู่
แล้วลุกขึ้นเร็วๆ จะเกิดอาการเวียนหัวเป็นครั้งคราวชั่วระยะหนึ่ง แล้วบางครั้งก็ดูปกติดีแต่ถ้า
อดนอนหรือนอนไม่พอก็จะมีอาการเวียนหัวและอ่อนเพลียด้วย  เมื่อเปลี่ยนจากท่านอนเป็นลุกขึ้นนั่งหรือยืน จะมีอาการหน้ามืดวิงเวียนจะเป็นลมเนื่องจากเลือดไปเลี้ยง สมองไม่พอ อาจมีคลื่นไส้ อาเจียน ตาพร่า ตาลายร่วมด้วย แต่สักครู่หนึ่งก็หายเป็นปกติ การวัดความดันโลหิต มักพบว่าความดันซิสโตลิก (ช่วงบน) ที่วัดในท่ายืนต่ำกว่า ท่านอนมากกว่า 30 มิลลิเมตรปรอท เช่น ในท่านอนวัดได้ 130/80 แต่ในท่ายืนจะวัดได้ 90/60



ระดับ
Systolic(มิลลิเมตรปรอท)
Diastolic(มิลลิเมตรปรอท)
เหมาะสม
<120
<80
ปกติ
<130
<85
เกือบสูง
130-139
85-89
ความรุนแรงอันดับ 1
140-159
90-99
ความรุนแรงอันดับ 2
160-179
100-109
ความรุนแรงอันดับ 3
>=180
>=110
Isolate Systolic Hypertension
>=140
<90

อายุ
ความดัน(มิลลิเมตรปรอท)
3-6 ปี
90/60
7-17 ปี
110/70
18-44 ปี
120/80
45-64 ปี
150/90
64 ปีขึ้นไป
160/90